วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลี้ยงปลากระชังแบบผสมผสาน ลดปัญหาการเกิดโรค

ชื่อ:  ปลากระชัง.jpg
ครั้ง: 3
ขนาด:  59.9 กิโลไบต์
จังหวัดชัยนาทเป็นแหล่งกสิกรรมที่เต็มไปด้วยความอุดม สมบูรณ์พร้อมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากรแหล่งน้ำที่ไหลผ่านตัวจังหวัด นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในปัจจุบันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำการเกษตร เช่น การทำนา การทำสวน ทำไร่ เป็นหลัก จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่งทำให้เกษตรกรจังหวัดชัยนาทนั้นมีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลา ในกระชัง

คุณ ปรีชา ชะเอม หรือ “ปรีชาฟาร์ม” ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ "ร่วมด้วยช่วยเกษตรกร" ทางสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท FM 105.50 MHz เมื่อวันที่ 22 มิย.55 ช่วงเวลา 14.15น. ถึงวิธีการเลี้ยงปลากระชังต้นทุนต่ำและมีวิธีการเลี้ยงแตกต่างไปจากเพื่อน เกษตรกรทั่วๆไป คุณปรีชาเล่าว่า จากประสบการณ์การเลี้ยงปลากระชังของเกษตรกรทั่วไปเมื่อเลี้ยงปลาไปได้ระยะ หนึ่ง ก็ต้องพบกับปัญหาของโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี เพราะเนื่องจากพื้นที่ของกระชังปลาที่ใช้นั้นเป็นพื้นที่เดิมๆ กระชังเดิมๆ เชื้อโรคมันก็ไม่ไปไหน พอเราเอาปลามาลง โรคเหล่านั้นก็พร้อมที่จะกลับมาทำลายทันที

ปัญหาการเกิดโรคในการเลี้ยงปลากระชังในพื้นที่เดิม คุณปรีชาได้มีเทคนิคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานซึ่งสามารถแก้ปัญหาการเกิดโรค ได้ซึ่งจะแบ่งประเภทของปลาเลี้ยงในบริเวณเดียวกัน โดยจะมีการเตรียมกระชังใช้ขนาดกระชัง กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 3 เมตร ซึ่งมีความเหมาะสมในการเลี้ยงปลามากที่สุด ประเภทของปลาที่ใช้เลี้ยง ปลากด 10 กระชัง ปลาทับทิม 4 กระชัง ปลากดอเมริกัน 2 กระชัง และส่วนที่เหลือก็จะใช้เลี้ยงปลาพื้นบ้านที่มาเกาะบริเวณขอบกระชัง

การเลี้ยงผสมผสานนั้นสามารถช่วยลดปัญหาของโรคที่จะเกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็ยังเกิดโรคอยู่ ซึ่งคุณปรีชาเองจะไม่รักษาแต่จะเน้นป้องกันแทน การป้องกันของเขานั้นจะใช้ด่างทับทิมใส่ลงไปในขวดน้ำ แล้วนำไปหย่อนลงในน้ำเหนือกระชัง ด่างทับทิมก็จะค่อยละลาย ซึ่งจะสามารถช่วยป้องกันเห็บ พยาธิภายนอก หรืออีกแนวทางก็เอาเกลือแกงไปห้อยไว้ในลักษณะเดียวกันก็ได้

เทคนิคอีกอย่างที่แตกต่างนั้นก็คือการทำร่มให้กับปลาทุกกระชัง โดยการกางซาแรน พอปลามีร่ม หว่านอาหารให้ไปตอนไหนก็ขึ้นมากินตลอดทั้งวัน ทำให้ปลาโตเร็ว ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยง ซึ่งแต่ก่อนเคยเลี้ยง 120 วัน ปัจจุบันเลี้ยงเพียง 90-100 วัน ก็สามารถจับขายได้

แหล่งที่มาของข้อมูล : ปรีชา ชะเอม. สัมภาษณ์, 20 มิถุนายน 2555.

เรียบเรียงโดย : ประสงค์ ภูพานใหญ่ เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ชัยนาท
 

ศึกษาข้อมูลเกษตร ซื้อขายสินค้าเกษตร แจกฟรีเมล็ดพืช ปศุสัตว์ เกษตรพอเพียงคลับ ดอทคอม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น