วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลือกต้นกล้ายางพารา สำหรับเกษตรกรมือใหม่

ต้นกล้ายางพารา สำหรับเกษตรกรมือใหม่

ปัญหาสำคัญของผู้ที่จะปลูกยางพาราตอนนี้คือปัญหากล้ายางพาราแพงมากและหายาก ผมเริ่มสนใจในการปลูกยางพาราเช่นกัน และยังมีอีกหลายท่านก็สนใจอยากปลูกแต่มีคำถามเกี่ยวกับแหล่งซื้อขายกล้ายาง เช่น

1.กล้ายางพารา ตอนนี้ราคาเท่าไหร่ (กล้าตาเขียว กล้ายางแบบฉัตรเดียว
กล้ายางแบบสองฉัตร)
2. แหล่งซื้อที่ใกล้ที่สุด ในจังหวัดของท่าน
3. มีบริการจัดส่งขั้นต่ำกี่ต้น ราคารวมค่าจัดส่งเท่าไหร่ มีสาขาเปิดในจังหวัด หรือ จังหวัดใกล้กันหรือไม่
4. มีพันธุ์อะไรบ้าง
5. พันธุ์จากแหล่งที่มีใบรับรองของกรมวิชาการเกษตรหรือไม่
6.คำถามอื่นๆที่ผู้ปลูกใหม่ยังไม่รู้ ที่อยากถามเจ้าของสวนที่ขายกล้ายาง
ึ7. แผนที่สวน หรือ จุดสำคัญก่อนถึงสวน






ผมเลยเขียนบล็อกนี้เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้รู้จักกัน
โดย ทุกท่านสามารถ โพสแนะนำสวนของท่าน กรณีเป็นผู้ขาย หรือโพสความต้องการของท่านกรณีเป็นผู้ซื้อ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะได้ไม่เสียเวลาทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย บนความจริงใจที่จะไม่เอาเปรียบกัน

การปลูกยางผมว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูก ต่อสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจของชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลผมก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอะไรที่พอเป็นประโยชน์ต่อผู้ อื่นผมต้องทำครับ





ผมขอตั้งกติกาสำหรับผู้ที่จะขายและจะซื้อ ง่ายๆ เพื่อความสบายใจของผู้ซื้อผู้ขายง่ายๆดังนี้

1. ชื่อผู้ที่จะโพส (ขอเป็นชื่อ-นามสกุลด้วยจะดีมากครับ) ชื่อสวน ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
1. เบอร์โทรศัพท์ ของผู้โพส
2. E-mail
3. พันธุ์ของกล้ายาง (ถ้ามีราคาด้วยก็จะดีมากครับ)
4. ค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆควรบอกให้หมด
5. ระยะเวลาที่สวนเริ่มมีต้นกล้า ช่วงเดือนไหนของปี
ุ6.จำนวนสาขาที่มี อยู่ในแต่ละจังหวัด


ผมขอให้ท่านใช้เวทีนี้ให้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพ สวนยางพาราที่กำลังเป็นยุคทองในขณะนี้ และผมขออณุญาติลบข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่แจ้งให้ท่านทราบ นะครับ

ขอให้ทุกท่านประสพผลสำเร็จในอาชีพยางพารา อาชีพที่พอจะสัมผัสกับคำว่า ทำเกษตรก็เป็นเศรษฐีได้

ล่าสุดสืบราคากล้ายางฉัตรเดียวอยู่ที่ 30 บาท/ต้น ต้องสั่งจอง ยังไม่มีใครรู้ว่าผลิตได้เท่าไหร่ในปีนี้กล้าพอหรือไม่ และมีการปลูกเพิ่มขึ้นหรือไม่ในพื้นที่ปลูกยางเก่า หรือมีการส่งออกไปลาวหรือพม่ามากน้อยเพียงไรก็ได้แต่คาดเดา พ่อค้ากล้ายางก็ว่าขาด คนปลูกก็รอดูราคากล้าถ้าแพงมาก เขาก้ยังไม่ปลูกเพราะ ปลูกข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่นๆก็มีการประกันราคาจากรัฐบาล ผมก็คิดว่าเกษตรกรรายใหม่ก็ลังเลพอสมควร ส่วนเกษตรกรในแหล่งพื้นที่ปลูกใหม่ที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น ภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคกลางบางส่วน ผมว่ารอความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะมีนโยบายส่งเสริมเช่นไร ปลูกพืชไร่ก็ได้ราคาครับ รอดูความชัดเจน อย่ารีบร้อนปลูกครับ


กล้ายางสวยๆที่มีคนสั่งผลิตที่ ริมอ่างเก็บน้ำดอกราย อ.นิคมพัฒนา จ.ระองแบบปลูกในถุง




ติดตาในถุงคนละแนวทางกับกล้าทางใต้ซึ่งถุงจะแคบยาว







ข่าวโครงการ ส่งเสริมการปลูกยางพาราพื้นที่ใหม่ 800,000 ไร่ แถลงข่าวโดย นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสร้างเสถียรภาพราคายางพารา
ได้คาดคะเนไว้ว่าในปี 2563 ความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกจะอยู่ที่ 13.8 ล้านตัน โดยขณะนี้มีการผลิตอยู่ที่ 12.4 ล้านตัน หมายความว่าปริมาณการใช้ยางจะมากกว่าการผลิต ทางคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ และกระทรวงเกษตรฯ จึงได้ทำโครงการปลูกยางพารา800,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองอย่าง น้อย 2 ไร่ และไม่เคยมีสวนยางมาก่อน
โดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการส่งเสริมปลูกยางในพื้นที่ใหม่มาแล้ว 2 ระยะ ประสบความสำเร็จอย่างมาก
โครงการล่าสุดจึงเป็นการส่งเสริมการปลูกยางแห่งใหม่ ระยะที่ 3 มีขอบเขตการดำเนินงานรวม 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2554-2556 มีเป้าหมายส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเป็นภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ 150,000 ไร่

สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 160,000 ราย คิดเป็นมูลค่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 112,000-224,000 บาท/ราย/ปี ได้มอบหมายหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้นำยุทธศาสตร์ยางพารามาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศจาก 278 กก./ไร่/ปี เป็น 306 กก./ไร่/ปี ให้ได้ในปี 2556 ตลอดจนทำโครงการสร้างครูยาง จำนวน 12,000 คน มาช่วยถ่ายทอดความรู้หลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการทำสวนยางตั้งแต่การดูแลสวนยางไปจนถึงการกรีดยางอย่างถูกต้อง

ขณะนี้มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลางให้ในวงเงิน 580.5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องวัสดุปลูก โดยกำหนดเป้าหมายปี 2554 ไว้ 200,000 ไร่ ที่เหลือจะดำเนินการในปีต่อไป ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ขอให้เตรียมความพร้อมเรื่องหลักฐานที่ดินทำกินของตัวเองที่ถูกต้องไม่น้อย กว่า 2 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ทั้งนี้ คาดว่าประมาณกลางเดือนมกรคมนี้ ทาง สกย. จะเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ กาหนดจะแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ประมาณวันที่ 14 มกราคม 2554 และประชาสัมพันธ์ทาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อม ๆ กับ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดาเนินโครงการ เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ย และอื่น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ทั้งนี้ สกย.จะดาเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ สารวจรังวัด และอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการต่อไป คาดว่าจะอนุมัติเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2554เป็นต้นไป

ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดาเนินโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2554 – 2556 รวม 800,000 ไร่ ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง มาตรา 21 ทวิ โดยรัฐบาลอนุมัติเงิน 580.05 ล้านบาทจากงบกลาง เพื่อให้ดาเนินการในปีแรก (2554) จานวน200,000ไร่ ไปก่อน โดยสานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักดาเนิน โครงการ เตรียมประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามคาแนะนาของคณะกรรมการสงเคราะห์การทาสวนยาง (ก.ส.ย.) มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา กาหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในเรื่อง
1.หลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาในรับการสงเคราะห์
2.วิธีการยื่นขอรับการสงเคราะห์
3.เงื่อนไขที่ผู้รับการสงเคราะห์ต้องยอมรับและถือปฏิบัติ

ความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมการปลูกยาง พื้นที่ใหม่ปี 1 กพ 2554


ล่าสุดผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สกย.ได้จัดสรรพื้นที่เป้าหมายปลูกยางพันธุ์ดีในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปี 2554 ในพื้นที่ 52 จังหวัด จำนวน 2 แสนไร่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการจัดสรรมากสุด 16 จังหวัด จำนวน 117,500 ไร่ รองลงมาคือภาคเหนือ 7 จังหวัด จำนวน 40,000 ไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 5 จังหวัด จำนวน 24,680 ไร่ และภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 17,820 ไร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117,500 ไร่ 16 จังหวัดที่ สกย.จัดสรรให้ ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ 6,500 ไร่, ขอนแก่น 2,500 ไร่, นครพนม 8,700 ไร่, นครราชสีมา 6,400 ไร่, บุรีรัมย์ 7,000 ไร่, มุกดาหาร 7,000 ไร่, ยโสธร 8,200 ไร่, ร้อยเอ็ด 4,400 ไร่, เลย 8,200 ไร่, ศรีสะเกษ 7,000 ไร่, สกลนคร 7,300 ไร่, สุรินทร์ 8,300 ไร่, หนองคาย 16,000 ไร่, หนองบัวลำภู 3,300 ไร่, อุดรธานี 8,300 ไร่ และอุบลราชธานี 7,800 ไร่

ภาค เหนือ 40,000 ไร่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงราย 6,700 ไร่, เชียงใหม่ 7,100 ไร่, ตาก 4,900 ไร่, พะเยา 3,600 ไร่, พิษณุโลก 7,300 ไร่, แพร่ 6,900 ไร่ และอุทัยธานี 3,500 ไร่
จังหวัดลำปาง ปี 2554 ไม่มีการส่งเสริมครับ ต้องรอปี 2555

ภาคตะวันออกและภาคกลางรวม 24,680 ไร่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.จันทบุรี 2,900 ไร่, ระยอง 440 ไร่, ตราด 1,300 ไร่, ฉะเชิงเทรา 12,100 ไร่ และกาญจนบุรี 7,940 ไร่

ภาคใต้ 17,820 ไร่ 14 จังหวัด 1 อำเภอ ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต 1,100 ไร่, ระนอง 200 ไร่, พังงา 270 ไร่, ตรัง 130 ไร่, นครศรีธรรมราช (เขต 1) 2,060 ไร่, นครศรีธรรมราช (เขต 2) 2,100 ไร่, สุราษฎร์ธานี 250 ไร่, กระบี่ 730 ไร่, ชุมพร 4,350 ไร่, สงขลา (เขต 1) 500 ไร่, สงขลา (เขต 2) 850 ไร่, สตูล 1,780 ไร่, พัทลุง 450 ไร่, ยะลา 2,400 ไร่, ปัตตานี 1,000 ไร่, นราธิวาส 600 ไร่ และ อ.เบตง จ.ยะลา 50 ไร่


สำหรับเกษตรกรที่ จะยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกยางในพื้นที่ใหม่ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องมีสัญชาติไทย มีที่ดินเป็นของตนเองตั้งแต่ 2-15 ไร่ ต้องไม่มีสวนยางมาก่อน และมีเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารครอบครองที่ดินถูกต้อง โดยสามารถยื่นขอรับรองการสงเคราะห์ได้ที่ สกย.ทุกจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2554 ครับ

>>>>>>>>>>>>

ท่านที่จะจำหน่ายกล้ายาง เขียนลงBlogเสนอขายกล้ายางได้เต็มที่ แต่ผมขอ 4 ข้อ
1. เบอร์โทรศัพท์
2. E-mail
3. ที่อยู่
4.ราคา(ต่อต้น ค่าขนส่ง)

>>> ถ้ารายใดข้อมูลคลุมเครือ ก็ผ่านเลยครับ เลือกรายที่ให้ข้อมูลชัดเจนดีกว่าครับ

>>> เพื่อป้องกันการหลอกลวง ผู้ที่จะซื้อกล้ายางอย่ามัดจำหรือจ่ายเงินจนกว่าจะได้กล้ายาง หรือตกลงกันด้วยความมั่นใจทั้งสองฝ่าย จึงชำระเงินเพราะ Blog เป็นแค่สื่อกลางไม่ได้รู้เห็นกับผู้ที่เขียนลงบล็อกเสนอขายกล้ายางครับ ผู้เขียนยินดีเป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อพบกับผู้ขายในราคายุติธรรมครับและข้อ ความใดไม่เหมาะสมผมขออนุญาตลบโดยไม่แจ้งให้ผู้โพสต์ทราบนะครับ

>>>หรือใครต้องการซื้อกล้ายางพาราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
หรือฝาก E-mail ไว้ในกระทู้เพื่อให้ผู้จำหน่ายกล้าติดต่อกลับก็ได้ครับ



>>>>>>>>> >>> ข่าวประชาสัมพันธ์<<<<<<<<<<<<<<<

สำหรับ ผู้ที่ต้องการกรดฟอร์มิกซ์ที่ปรับสตูรในการผลิตยางแผ่นหรือยางแท่ง มีผลิตภัณฑ์ของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันสมัยอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน ที่ฝากมาแนะนำเพื่อนชาวสวนยางดังนี้ครับ

คุณลักษณะ: เป็นกรดฟอร์มิกที่ปรับสูตร(กรดฟอร์มิกซ์+สารปรับคุณภาพ) ใช้ในการผลิตยางแผ่นในอัตราส่วนที่เท่าเดิมเหมือนที่เคยใช้

ข้อ ดี: ลดการสูญเสียเนื้อยางในการทำยางแผ่นที่สูญหายไปในขั้นตอนการจับตัวของน้ำยาง และขั้นตอนการรีดแผ่น และเพิ่มคุณภาพของยางแผ่นที่ผลิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ:
1.ได้เนื้อยางเพิ่มขึ้น 8-10 % เนื่องจากลดการสูญเสียเนื้อยาง ในขบวนการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
2.ลดการเกิดเชื้อราของยางแผ่นกรณีช่วงการทำยางแผ่น ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันและมีความชี้นในอากาศสูง
3.ให้เนื้อยางใส และมีสีเหลืองอำพัน ขายได้ราคา
4. ต้นทุนของการใช้ 1.3 บาท/แผ่น ไม่ถึง 1% ของราคายาง1 แผ่น
เมื่อเทียบกับเนื้อยางที่เพิ่มขึ้น แล้วยังไงก็น่าสนใจครับ



ตั้งกระทู้ถามตอบ ซื้อขายสินค้าเกษตร ที่ เกษตรพอเพียงคลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น