การเพาะเห็ดเข็มทอง





ลักษณะ ตามธรรมชาติมี สีเหลือง – ส้ม น้ำตาล – แดง หมวกเล็กพบขึ้นทั่วไปในเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นกับไม้ที่ตายแล้วและออกดอกในช่วงฤดูหนาว ชาวบ้านจึงนิยมเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดเหมันต์ (Winter mushroom) ปกติจะมีดอกขนาดเล็ก และสั้น แต่ที่วางขายในตลาดทั่วไปจะมีดอกเล็ก ลำต้นยาวเป็นกระจุกผิดไปจากที่พบเห็นในธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปริมาณและน้ำหนักที่ดี และสะดวกในการบรรจุจำหน่าย เห็ดชนิดนี้สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายประเภท อาทิ สุกี้ ในธรรมชาติมีสีเหลือง – ส้ม น้ำตาล – แดง หมวกเล็ก
คุณค่าทางโภชนาการ
โปรตีน 25%, ไขมัน 1%, แป้ง 53%, เยื่อใย 12%, เถ้า 8%, วิตามินบี 1, วิตามินบี, วิตามินซี และ arginine
สรรพคุณทางยา
ถ้า รับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรัง เห็ดเข็มทองมีสาร flammulin สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง(Ehrlich) และเซลล์มะเร็ง Sarcoma 180 ในหนูขาว ได้ผลถึง 81.1-100% และมีคุณสมบัติในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต
วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
เห็ด เข็มทอง เป็นพวกย่อยสลายเนื้อไม้ ชอบขึ้นบนตอไม้ วัสดุที่ใช้เพาะจึงเป็นขี้เลื่อย หรือซังข้าวโพดบดละเอียดผสมอาหารเสริม ได้แก่ รำข้าวละเอียด pH ให้อยู่ระหว่าง 6.0-7.5 ความชื้น 60-65% บรรจุในขวดพลาสติกทนร้อน อบฆ่าเชื้อที่ 121°C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น ใส่เชื้อเห็ดเลี้ยงไว้ในห้องอุณหภูมิ 18-22°C ประมาณ 1 เดือน พอเชื้อเจริญเต็มขวด นำไปเข้าห้องเปิดดอกที่อุณหภูมิ 10-15 °C ความชื้น 85-95% เมื่อดอกเห็ดเจริญสูงกว่าปากขวด 2-3 ซม. ให้ใช้กระดาษสะอาดหรือแผ่นพลาสติกหุ้มรอบปากขวด เพื่อช่วยบังคับให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตในแนวสูง และเป็นกลุ่มก้อนง่ายต่อการเก็บดอกและคัดบรรจุ
ศัตรูเห็ด
เกิดจาก แมลง-ศัตรูที่คอนทำลายเห็ดและพบเป็นประจำก็คงจะเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ มีปีก จัดอยู่ในวงศ์ดิบเทอรา (Diptera) ก็คือแมลงวันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะว่าหนอนแมลงวันพวกนี้มีขนาดจิ๋ว เป็นศัตรูที่คอยทำลายเงียบ ๆ แต่รุนแรง หนอนผีเสื้อ ดวงปีกแข็งเพลี้ยไฟ แมลงสาบ หนู
การป้องกันและกำจัด
พ่น ด้วยคาร์บาริล (เซฟวิน 80 WP) หรือใช้ไดอาซินอน (บาซูดริน 40 WP) อัตรา 40-60 กรัม (4-6 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดแมลง พ่นสารฆ่าไรไดคาร์โซล 25 WP หรืออมิทราช 20 EC อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
ราคาเห็ดเข็มทอง ตามท้องตลาด โดยประมาณ กิโลกรัมละ 200 - 300 บาท