วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปลูกมะเดื่อฝรั่ง

ก่อนจะปลูก เรามารู้สรรพคุณของมะเดื่อฝรั่งก่อนนะครับ ว่าเป็นอย่างไร ...........?
มะเดื่อฝรั่ง ผลไม้เพื่อสุขภาพ มะเดื่อฝรั่ง เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ได้ยินชื่อแล้วหลายคนอาจสงสัยว่า ผลไม้ชนิดนี้มีลักษณะผลอย่างไรและผลไม้ชนิดนี้มีในประเทศไทยด้วยหรือ อันที่จริงแล้วมะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่มีปลูกและศึกษาวิจัยมาเกือบ 25 ปีแล้ว โดยเป็นความร่วมมือของมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการปลูกพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขาทดแทนการปลูกฝิ่นทางภาคเหนือ กระทั่งทุกวันนี้การศึกษาวิจัยมะเดื่อฝรั่งก็ยังมิได้จบสิ้นลง ทางมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังคงเร่งศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแปลงวิจัยอยู่ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้มีการทดลองปลูกมะเดื่อฝรั่ง 2 ลักษณะ คือ การปลูกในโรงเรือนและการปลูกนอกโรงเรือน ภายใต้การดูแลของ ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณรุ่งธิวา ปาปะขำ นักวิชาการเกษตร สถานีเกษตรหลวงปางดะ ทีมงานวิจัยมะเดื่อฝรั่ง กล่าวว่า มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับหม่อน เป็นพืชประเภทกึ่งร้อนถือว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีการปลูกกันมากทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนการปลูกที่เป็นการค้าของโลกจะอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน ตุรกี และกรีซ บางพันธุ์สามารถปลูกได้ในแคลิฟอร์เนียทางใต้และพื้นที่แห้งแล้งของประเทศสหรัฐอเมริกา และพบว่า มีการผลิตต้นมะเดื่อฝรั่งบางสายพันธุ์ ได้แก่ Conadria, Beall, Brow Turkey, Purplish Black ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ถึงแม้จะประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงในแปลงทดลองบ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้ส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูกเป็นการค้า อันเนื่องมาจากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในบางประการตลอดจนลักษณะการบริโภคของคนไทยต่อผลไม้ชนิดนี้จนกระทั่งปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมีการศึกษาวิจัยลักษณะสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา และการเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่งอีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ White Marseilless และ Dauphine ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง และในปี 2547 ได้มีการนำพันธุ์มะเดื่อฝรั่งเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นอีก 5 สายพันธุ์ ได้แก่ คาโดต้า ลิซ่า ชูก้า ดรอฟินส์ และบราว เทอร์กี้ โดยได้นำมาปลูกไว้ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ เพื่อขยายพันธุ์ และในปี 2548 ได้มีการปลูกเพื่อทำการวิจัยทดสอบการปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนและนอกโรงเรือนเพื่อศึกษาความเจริญเติบโตและอื่นๆ โดยทดสอบปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือน รวมทั้งหมด 58 ต้น มี 7 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการบริโภคสด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์บราว เทอร์กี้ อินทนนท์ จำนวน 24 ต้น พันธุ์บราว เทอร์กี้ เจแปน จำนวน 6 ต้น พันธุ์ดรอฟินส์ จำนวน 2 ต้น และพันธุ์ชูก้า จำนวน 6 ต้น ส่วนอีก 3 สายพันธุ์ จะปลูกเพื่อการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ พันธุ์คาโดต้า จำนวน 6 ต้น พันธุ์เซเลสเต้ จำนวน 6 ต้น และพันธุ์ลิซ่า จำนวน 6 ต้น ด้าน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการวิจัยทำให้ทราบว่า การปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนให้ผลผลิตได้ดีกว่าการปลูกนอกโรงเรือน เพราะการปลูกนอกโรงเรือนพืชต้องพบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเสี่ยงต่อการเกิดโรคและแมลงรบกวน ซึ่งการปลูกมะเดื่อฝรั่งในระบบโรงเรือนจากข้อมูลการเจริญเติบโตเบื้องต้นพบว่า การเจริญทางกิ่งใบมีการเจริญเติบโตดี แตกกิ่งก้านได้มาก เมื่อโน้มกิ่งจะออกดอกติดผลอย่างสม่ำเสมอ โดยภายในโรงเรือนไม่มีการทิ้งใบหมด เหมือนพื้นที่ปลูกที่สูงกว่าและจะแตกกิ่งใหม่เพื่อให้ผลผลิตขนาดผลเฉลี่ย พันธุ์บราว เทอร์กี้ 50 กรัม พันธุ์ดรอฟินส์ 100 กรัม พันธุ์คาโดต้า 45 กรัม พันธุ์เซเลสเต้ 15 กรัม พันธุ์ลิซ่า 30 กรัม และพันธุ์ชูก้า 35 กรัม ส่วนการปลูกทดสอบนอกโรงเรือน ยังต้องทำการศึกษาการพัฒนาของผล ตั้งแต่การติดผลถึงเก็บเกี่ยว ศึกษาอายุใบ และการขยายพันธุ์ต่อไป คุณค่าทางด้านอาหาร มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก มีปริมาณน้ำตาลธรรมชาติมากถึง 83 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งพลังงานจากสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ยังเป็นแหล่งอาหารประเภทให้เส้นใยที่เป็นประโยชน์ต่อการกำจัดของเสียของร่างกาย เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อฝรั่งจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเป็นกรดด่างในร่างกาย นอกจากนี้ ยังพบว่าภายในผลมีโปรตีนเอนไซม์ วิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี ซี และแคลเซียม มีไฟเบอร์สูงมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เป็นผลไม้ที่ไม่มีธาตุโซเดียมและคอเลสเตอรอล ที่สำคัญยังพบว่ามีสารยับยั้งและป้องกันเซลล์มะเร็ง "แม้ว่ามะเดื่อฝรั่งจะเป็นพืชที่อยู่ระหว่างการทดลองก็ตาม แต่คาดว่าหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองหรือภายในปีนี้จะสามารถส่งเสริมไปยังเกษตรกรได้ เนื่องจากมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีราคาสูงเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 200-300 บาท ซึ่งจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเป็นผลไม้บำรุงสุขภาพ และจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดีด้วย ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=2240

การตอนกิ่งโดยไม่ต้องควั่นกิ่งและไม่ต้องขูดเยื่อเจริญ

ผมพบว่ามีเกษตรกรหลายท่านที่ยังมีปัญหากับการขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่งพันธุ์พืชอยู่ จึงขออนุญาตนำเสนอการตอนกิ่งอีก 1 วิธีนอกเหนือจากการตอนด้วยวิธีปกติที่ทำๆกัน เป็นวิธีที่ง่ายสบายๆใครๆหรือคุณๆก็สามารถทำได้ครับ นี่เป็นตัวอย่างกิ่งตอนที่ผมทำอยู่ในโครงการทดลอง เป็นกิ่งพันธุ์มะนาวครับทำไว้กว่า 500 กิ่ง
ส่วนนี่เป็นต้นมันปู พืชกินใบของอร่อยของทางภาคใต้ครับ ที่มาจาก : เกษตรพอเพียง

จุลินทรีย์หน่อกล้วย

จุลินทรีย์หน่อกล้วย กล้วยปลูกที่ไหน ดินบริเวณกอกล้วย ณ ที่นั้นจะดี เบื้องหลังความร่วนซุยอุ้มน้ำของดินดังกล่าว เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินรอบๆรากกล้วย ซึ่งหากขยายเชื้อให้มากแล้ว ย่อมนำไปใช้ปรับปรุงดินที่อื่นๆ ให้ดีขึ้นได้ นอกจากนั้น หน่อกล้วย มีน้ำยางฝาด หรือสารแทนนินมาก เมื่อหมักแล้ว น้ำที่หมักได้ ยังสามารถนำมาใช้ ในการควบคุมโรคพืชบางอย่างได้ ทั้งยังสามารถนำไปใช้ปรับปรุงสภาพน้ำที่เน่าเสียให้ฟื้นสภาพกลับดีขึ้นได้อีกด้วย วิธีทำ ขุดหน่อกล้วยต้นที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรค ขนาดหน่อสูงจากโคนถึงปลายใบไม่เกิน 1 เมตร เอาเหง้าพร้อมราก(ใหญ่ๆ) ให้มีดินติดรากมาด้วย สับ หรือ บดย่อยทุกส่วนทั้งหมด ทั้งใบ หยวก เหง้า และ ราก ให้ละเอียดโดยไม่ต้องล้างน้ำ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับการน้ำตาล ในอัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน ใช้กากน้ำตาล 1 ส่วน หมักในภาชนะพลาสติคมีฝาปิดในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก 7 วัน แล้วคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้ เรียกน้ำหมักนี้ว่า จุลินทรีย์หน่อกล้วย วิธีใช้ 1.ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ กำจัดเชื้อโรคในดิน ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดลงดินร่วมไปพร้อมๆกับการให้น้ำ ซึ่งการใช้ในแต่ละครั้ง รวมทั้งหมดแล้ว อย่าให้เกิน 3 ลิตร ต่อ ไร่ 2. ป้องกันกำจัดโรคพืช ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดต้นพืชให้เปียกชุ่มโชก ทั้งบนใบ และใต้ใบ เพื่อล้างน้ำฝน ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกแล้วนานเกิน 30 นาที ฉีดพ่นล้างหมอกก่อนแดดออก ฉีดพ่นป้องกันโรคที่มากับน้ำค้างช่วงตอนเย็น หรือฉีดพ่นในอัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ทั้งเว้นการให้น้ำ 48 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้น 3. ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวน สระเก็บกักน้ำ และบ่อเลี้ยวสัตว์น้ำ ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 10,000 ลิตร 4.ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ ฉีดพ่นด้วยน้ำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร 5. เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่ จุลินทรีย์หน่อกล้วย เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

สูบน้ำโดยใช้ถังสุญญากาศ

http://www.ch7.com/news/news_scoop7see_detail.aspx?c=5&p=403&d=93659 ใครพอจะเข้าไปติดต่อได้บ้างครับ ว่า ถ้าหากเราต่อท่อดูดลงไปข้างล่างที่ต่ำกว่าปากถัง 200 ลิตรแล้วยังสามารถมีน้ำไหลได้อยู่หรือไม่ ? แต่เท่าที่ดูคนที่รดน้ำต้นไม้ยังต้องนั่งลงเลยน่ะ สงสัยต้องให้ระดับที่รดต่ำกว่าน้ำในถังหรือเปล่า ? ถ้าอยู่ใกล้น่าจะไปดูให้เห็นกับตา อย่างน้อยเค้าก็มีถังเหล็กๆ หนาๆ ไว้ให้ทดสอบอยู่แล้วน่ะครับ ใครไปมาแล้วแจ้งข่าวด้วยนะครับ ขอบคุณครับ "แสงสว่างตรงเส้นขอบฟ้า ถึงแม้จะลางเลือน แต่มันก็ยังเป็นแสงสว่างที่นำทางเราเดิน"